อย่าละเลย! นักพิษวิทยาเตือน ต้นตีนเป็ด คือเพชฌฆาตเงียบ แบบนี้? แชร์วนไปค่ะ
ยิวาน เกลการ์ด (Yvan Gaillard) จากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางพิษวิทยา Voulte-sur-Rhône ในฝรั่งเศส เปิดเผยว่า “คาร์เบอรา โอดอลลาม” (Cerbera odollam) หรือ พืชสกุล “ตีนเป็ดทะเล” ที่เติบโตอยู่ทั่วอินเดียและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการฆ่าตัวตายของชาวอินเดียมากกว่าต้นไม้อื่นๆ และไม่ว่าจะเป็นแพทย์ ผู้ชำนาญด้านอายุรเวช และเจ้าหน้าที่ผู้ชันสูตรพลิกศพต่างไม่สามารถตรวจพบได้ว่าผู้ตายเสียชีวิตเพราะพิษของต้นไม้ดังกล่าวจริงหรือไม่
คณะทำงานศึกษาเรื่องพิษในต้นตีนเป็ดซึ่งนำโดยเกลการ์ด กล่าวว่า มีเอกสารระบุว่าเฉพาะในรัฐเคราลา (Kerala) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย เพียงรัฐเดียวก็ปรากฏจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยพิษจากตีนเป็ดทะเลมากกว่า 500 รายในช่วงปี 1989-1999
ทีมงานของเกลการ์ดได้ใช้กรรมวิธีโครมาโตกราฟี (chromatography) อย่างละเอียดคู่กับวิธีการแมส สเปกโตรเมทรี เพื่อชันสูตรเนื้อเยื่อว่ามีร่องรอยพิษของต้นไม้ดังกล่าวหรือไม่ โดยทีมงานได้เปิดเผยถึงจำนวนของผู้ที่ถูกพิษเสียชีวิต และระบุว่าอาจจะกลายเป็นการฆาตกรรมโดยไม่มีใครสามารถสังเกตหรือสงสัยได้ เพราะบางรายที่เสียชีวิตด้วยพิษของตีนเป็ด มีข้อสงสัยว่าน่าจะเป็นการฆาตกรรมมากว่า
เมล็ดของต้นตีนเป็ดนั้นมีรสขม แต่ถ้าหากนำมาใช้วางยาพิษ ก็สามารถกลบเกลื่อนได้ด้วยการนำไปบดและผสมกับอาหารที่มีรสจัด เพราะตีนเป็ดน้ำมีสารที่มีฤทธิ์ต่อหัวใจเรียกว่า “คาร์เบอริน” (cerberin) เป็นตัวยาโครงสร้างเดียวกับที่ใช้ในยากระตุ้นหัวใจ พบมากในต้นฟอกซ์โกลฟ์ (foxglove) ซึ่งพิษจากต้นฟอกซ์โกลฟ์นี้เป็นที่รู้จักกันดีทางตะวันตก
ส่วนการทำงานของสารกระตุ้นหัวใจในปริมาณมากก็สามารถฆ่าคนได้ เพราะสารดังกล่าวจะไปสกัดกั้นช่องทางเดินของแคลเซียมไอออนในกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งทำให้รบกวนกระบวนการเต้นของหัวใจ และแม้จะสิ้นใจด้วยพิษตีนเป็ด แต่อายุรแพทย์ก็ยังไม่สามารถจะระบุได้ชัดเจนว่าผู้ตายเสียชีวิตด้วยตีนเป็ดน้ำจริงหรือไม่ จนกว่าจะได้หลักฐานว่ามีการกินต้นไม้ชนิดนี้เข้าไป ดังนั้นมันจึงกลายเป็นการฆาตกรรมที่ดูแนบเนียน
อย่างไรก็ดี 3 ใน 4 ของผู้ที่ตายด้วยพิษตีนเป็ดนั้นเป็นหญิงชาวอินเดีย โดยทางทีมงานคาดว่า อาจเป็นไปได้ว่าต้นไม้ดังกล่าวกลายเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปลิดชีวิตภรรยาสาวผู้ที่ไม่สามารถเข้ากับธรรมเนียมและครอบครัวสามีชาวอินเดียได้ และที่สำคัญต้นตีนเป็ดดูเหมือนว่าจะเจริญเติบโตอย่างผิดธรรมชาติในบางพื้นที่ บางทีอาจจะกลายเป็นสิ่งสำคัญในการฆาตกรรมก็เป็นได้
สำหรับต้นตีนเป็ดทะเล มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cerbera odollum Gaertn. อยู่ในวงศ์ตีนเป็ด APOCYNACEAE ในประเทศไทย พบขึ้นตามชายหาด ริมน้ำ คลอง ห้วยหนอง และบริวเณที่มีอิทธิพลของน้ำกร่อยทั่วไป ในต่างประเทศ พบใน อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย
ทีมา http://www.khaoza.net/2017/04/blog-post_42.html
Comments
Post a Comment